กำลังตกอยู่ในสถานการณ์นี้กันอยู่ไหมคะ เราก็เป็นคนหนึ่งที่ถ้าลูกอยากได้ ไม่แพงเกินไปก็ซื้อให้ ด้วยความสงสารลูก ฯลฯเหตุผล ผลคือ ของเล่นสองตระกร้า..เริ่มคิดว่ามันเยอะไปละ ล่าสุด อยากได้รถแบตเตอรี่คันละสี่พัน(ขาดบาทเดียว) แม่เจ้า..มันจะมากไปแล้วลูกเอ๋ย ของเล่นลูกเศรษฐีนะนั่นน่ะ ลูกเอ๊ย คันละสิบยี่สิบแม่จะควักให้ทันทีเลย ยิ่งมาอ่านเจอบทความนี้ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ชอบมาก บังเอิญเหลือเกินคุณแม่ที่น่ารักในเวปเด็กสองภาษาเอามาลงไว้ เลยเอามาเผยแพร่อีกที ลองอ่านดูค่ะ
พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่กล้าขัดใจลูกและเลือกที่จะโอ๋ลูกตามใจลูก เพราะกลัวลูกไม่รัก แต่เชื่อไหมว่า การเลี้ยงลูกให้เป็นคุณหนูโดยตามใจทุกอย่าง อยากได้อะไรเป็นต้องเนรมิตให้ ถือเป็นการทำร้ายลูกอย่างทารุณที่สุด.... ด้วยน้ำมือของพ่อแม่เอง!!!
ถ้าคุณรักลูกจริงๆ และอยากเห็นพวกเขาเติบโตมีความสุข รู้จักใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และไม่เป็นทาสของเงินลองเปิดใจรับกฎเหล็ก 7 ประการของ "ยีน ชาทสกี" นักเขียนชื่อดังของอเมริกา และบรรณาธิการสายการเงินประจำรายการ NBC's Today Show ที่ทุ่มเทมาทั้งชีวิตเพื่อค้นหาคำตอบว่า ทำไมเด็กยุคใหม่ถึงไร้วินัยทางการเงินและสะกดคำว่า พอเพียงไม่เป็น !!!!!
กฎข้อที่ 1 สอนลูกให้เลือกสิ่งดีที่สุด และเลือกให้เป็น
การตัดสินใจเลือกเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ต้องทำในชีวิตนี้ คุณต้องเลือกระหว่างอะไรกับอะไรสักอย่างเสมอ การสอนให้ลูกรู้จักตัดสินใจเลือกอย่างถูกต้อง จะต้องปลูกฝังตั้งแต่ยังแบเบาะจนถึง 2 ขวบ เพื่อสอนให้รู้ว่า ไม่ใช่ว่าอยากได้อะไรแล้วต้องได้ตามใจไปซะทุกอย่าง เทคนิคสร้างทักษะการเลือกที่ถูกต้องให้ลูกควรเริ่มจากการฝึกลูกให้เลือกระหว่างของ2อย่าง จากนั้นค่อยเพิ่มจำนวนเป็น 3-4 อย่าง ถ้าลูกเลือกแล้ว และรบเร้าอยากเปลี่ยนใจ พ่อแม่ก็ห้ามใจอ่อนเด็ดขาด เพราะจะสร้างนิสัยไม่ดีให้กับลูก ต้องปลูกฝังให้ลูกรู้จักการเลือกและตัดสินใจด้วยตัวเอง ที่สำคัญต้องแฮปปี้กับการตัดสินใจ ไม่ใช่ว่า พอได้ของเล่นชิ้นหนึ่งมาแล้ว ก็ลงดิ้นกับพื้นร่ำร้องอยากจะได้ของเล่นชิ้นใหม่ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะกลายเป็นคนบ้าช๊อปปิ้ง ซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า โดยไม่รู้จักคุณค่าของเงิน
กฎข้อที่ 2 กติกาต้องเป็นกติกา เข้มงวดอย่างมีเหตุผล และเลิกตามใจลูก
ผลสำรวจของ "แดน คายด์ลอน" ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด บ่งชื้ว่า เด็กที่เติบโตขึ้นมาท่ามกลางการเลื้ยงดูเข้มงวดของพ่อแม่ และครอบครัวที่เต็มไปด้วยข้อจำกัด มีแนวโน้มที่จะไม่ออกนอกลู่นอกทางเมื่อเทียบกับลูกเศรษฐีที่ถูกตามใจตั้งแต่เกิด ลองใช้เทคนิคหักเงินทุกครั้งที่ลูกไม่ทำตามกติกา หรือลงโทษลูกโดยห้ามดูทีวี
กฎข้อที่ 3 กำหนดเงินค่าขนมตายตัว เพื่อฝึกให้ลูกบริหารเงินด้วยตัวเอง
สำหรับพ่อแม่ที่ไม่กล้าปฏิเสธลูก การกำหนดเงินค่าขนมตายตัวอาจเป็นเรื่องยาก เพราะเมื่อลูกรบเร้าอยากได้โน่นได้นี่ พ่อแม่จำนวนมากก็มักใจอ่อนซื้อให้ทุกที ลองเริ่มต้นด้วยการกำหนดเงินค่าขนมเป็นรายอาทิตย์และค่อยเพิ่มภาระเป็นรายเดือน วิธีนี้จะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของเงินและรู้จักการวางแผนการใช้เงินของตัวเอง เด็กหลายคนยอมอดขนมเพื่อเก็บเงินไว้ซื้อของเล่นกระนั้น พ่อแม่ไม่ควรนำเรื่องค่าขนมมาโยงกับการบังคับให้ลูกช่วยทำงานบ้าน
กฎข้อที่ 4 สอนลูกให้รู้จักการรอคอย
ปลูกฝักให้ลูกรู้ว่าได้อะไรมายาก ทำให้รู้สึกภาคภูมิใจมากกว่าการได้อะไรมาง่ายๆ พ่อแม่ที่ดีควรส่งเสริมลูกให้เรียนรู้ที่จะเก็บเงินเพื่อซื้อของที่ต้องการ เช่น ถ้าลูกอยากซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คราคาแพง ในขณะที่มีค่าขนมอาทิตย์ละไม่กี่ร้อยบาท สิ่งที่พ่อแม่จะช่วยได้ก็คือ ทุกครั้งที่ลูกหลยอดกระปุกออมสิน พ่อแม่ควรสมทบเงินในอัตราที่เท่ากันให้ลูก นอกจากการรวบรวมเงินออมทั้งหมดที่สะสมมาได้จากการช่วยงานพิเศษภายในบ้าน เมื่อทำแบบนี้แล้ว เด็กย่อมจะเห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงตัวเอง
กฎข้อที่ 5 สนับสนุนให้ลูกทำงานพิเศษ
ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่สุดในการสอนลูกให้มีความรับผิดชอบ พ่อแม่อาจเริ่มต้อนจากการจ้างลูกทำงานพิเศษภายในบ้าน เช่น รับจ๊อบล้างรถให้คุณพ่อ หรืออาสาเลี้ยงน้องแทนคุณแม่ เมื่อลูกได้ลิ้มลองรสชาติของการหาเงินได้เอง และอยากได้ข้าวของที่มีราคาแพงเกินกว่ารายได้พิเศษในบ้าน พวกเข้าก็จะออกไปหางานพิเศษทำนอกบ้าน อย่าโวยวายเด็ดขาด ถ้าจู่ๆลูกจะขอไปทำงานแมคโดนัลด์
กฎข้อที่ 6 สอนลูกให้รู้จักคุณค่าของเงิน
เด็กๆ รู้จักใช้เงินเป็น ก็ตั้งแต่พวกเขานับเงินเป็นแล้ว แต่เรื่องที่ยากยิ่งกว่าคือ ทำอย่างไรถึงจะสอนให้พวกเขารู้จักคุณค่าของเงิน มีทิปง่ายๆ สำหรับพ่อแม่ยุคใหม่ เมื่อไหร่ที่ลูกร่ำร้องอยากได้ของเล่น ลองทดสอบลูกว่าของเล่นที่อยากได้สำคัญระดับไหนตั้งแต่ 1-5 โดยทั่วไปแล้ว เด็กทุกคนมักตอบว่า สำคัญที่สุดเป็นอันดับ 5 จากนั้นทิ้งเวลาไว้สักอาทิตย์หนึ่ง แล้วค่อยกลับมาถามลูกใหม่ การทำอย่างนี้สม่ำเสมอจะช่วยให้พวกเขาพัฒนาศักยภาพในการตัดสินใจด้วยตัวเอง และรู้ว่าควรใช้เงินอย่างไรให้คุ้มค่า
กฎข้อที่ 7 เป็นตัวอย่างที่ดีของลูก ... จงอย่าเหนียวหนี้
พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีของลูก โดยเฉพาะเรื่องวินัยการเงิน เริ่มต้นง่ายๆ จากการจ่ายค่าขนมให้ลูกตรงเวลา อย่าเพาะนิสัยเหนียวหนี้ให้พวกเขา มิฉะนั้น พวกเขาก็จะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่เหนียวหนี้ ไม่ยอมชำระค่าบัตรเครดิตตรงเวลา เมื่อพูดคำไหนก็ต้องคำนั้น พ่อแม่ต้องเข้มงวดกับกติกาที่กำหนดไว้ ไม่ใช่ตัวเองยังผิดคำพูดบ่อยๆ แล้วนับประสาอะไรจะบังคับลูกได้
ข้อสุดท้ายนั้นคือสิ่งที่ทำเสมอคือ ถ้ารับปากว่าได้ก็คือได้ ไม่ได้ก็คือไม่ได้ เรื่องรถที่"ลูกอยากได้"นั้น เราบอกไปแล้วว่าไม่ ถ้าอยากได้ต้องเก็บขวดขายเก็บตังค์ไปซื้อเอง เพราะมันแพง แม่ไม่มีเงิน แต่ปู่กะย่าให้ท้าย สัญญาว่าว่าจะซื้อให้ซะนี่ แต่ข้อแม้ยากหน่อย ให้บอกหวยให้ปู่กะย่าถูกซะก่อน .. 55คร่ำครวญไปเถอะลูก
ดีมากค่ะรล
ตอบลบ