วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กินตามความเชื่อ ..เพื่อลูก

ที่จริงเรื่องนี้น่าจะเล่าก่อนเรื่องอื่น เป็นความเชื่อส่วนตัวที่ใครจะทำตามก็ไม่เสียหายนะคะ ในคนที่อยากมีลูกมากๆ อยากแนะนำว่าให้ลองทานเป็ดบำรุงกำลัง อันนี้เราเอามาจากละครเดจังกึม คือมีตัวละครชายแก่กะเมียที่เป็นพวกเดจังกึมที่ตลกๆน่ะ เมียเค้าอยากมีลูกเลยบำรุงผัวด้วยเป็ด เราก็มาคิดว่ามันอาจจะเป็นความเชื่อของคนเกาหลี เลยคุยกันเล่นๆกับเพื่อนร่วมงานสองคนอยู่กันนานแล้วยังไม่มีลูก รวมเราที่กำลังจะแต่งงานอีกคน พอดีแถวที่พักมีร้านข้าวหน้าเป็ด เลยชวนกันไปกินขำๆ ปรากฏว่าท้องไล่ๆกันเลย เริ่มจากเรา(ที่หมอรักษาไธรอยด์บอกจะมีลูกยาก) และก็เพื่อนอีกสองคนตามมา ซึ่งตอนที่เราท้องก็ได้ไปอยู่ต่างจังหวัดกับสามีแล้ว ได้โทร.ไปคุยกับเพื่อนพูดติดตลกว่าเพราะเป็ดบำรุงกำลังรึเปล่า ...แต่ตอนนี้สถิติที่เราเก็บคือ สามคน ถ้าใครที่มีลูกยากจะลองดูก็ดีนะคะ ได้ผลยังไงส่งข่าวด้วยจะได้เป็นสถิติเพิ่ม
ต่อมาพอมีลูกน้อยแล้ว นอกจากต้องไปฝากครรภ์ ฉีดวัคซีน กินยาบำรุง ดื่มนมแล้ว อาหารบำรุงต่างๆก็สรรหากันค่ะเราเป็นคนที่ถ้าใครมาบอกใครทำอะไรแล้วมีเหตุผลพอก็ทำตามค่ะ ..ไม่ดื้อ แต่ประเภท “ตรูบอกให้เชื่อ มรึงต้องเชื่อ” มาพูดกับเราไม่ค่อยรู้เรื่องหรอกค่ะ แหล่งข้อมูลในเรื่องการกิน ไม่พ้นหนังสือและอินเตอร์เน็ตค่ะ โดยจะอ่านแล้วเอามาพิจารณาก่อนจะเชื่อหรือทำตาม มีเรื่องที่ย้อนอดีตเล็กน้อย คือตอนทำงานบริษัท มีพี่ที่สนิทกันท้อง เราก็พลอยเห่อไปด้วย(ตามประสามคนรักเด็ก...นางงามมาก) ไปช่วยแกเลือกชุดคลุมท้อง แนะนำให้แกกินแปะก๊วย เพราะเรารู้มาว่าบำรุงสมองทำให้ฉลาด แกก็ซื้อมาต้มกิน หลังจากออกจากงานโทร.คุยกันแกก็เล่าให้ฟังว่าลูกแกมันฉลาดเกิ๊น..จนพ่อมันเรียกไอ้เด็กแปะก๊วย ส่วนท้องของเราหากินยาก อาศัยกินนมที่มีส่วนผสมของแปะก๊วยเอา (เพราะกินนมรสเดิมๆก็เบื่อ นมเปรี้ยวบ้าง รสอื่นๆบ้าง มีให้แม่ๆเลือกมากมาย)
ส่วนตัวเราแล้วเราจะศึกษาว่าในคนท้องเราต้องการสารอาหารอะไรมากกว่าคนปกติ แล้วสารอาหารนั้นมีอยู่ในอาหารประเภทไหน อย่างที่ยกไปแล้วคือเรื่องแคลเซียมที่มีในนม แต่คนที่กินนมไม่ได้ก็สามารถที่จะได้รับแคลเซียมจากแหล่งอาหารอื่นได้ เช่น กะปิ ปลาร้า(กินกันเป็นไหๆเลยที่เดียว) ซึ่งมันก็มีในการปรุงอาหารในชีวิตประจำวันของเราอยู่แล้ว ก็หาสิ่งทดแทนกันไป ผู้ใหญ่บางคนเห็นเราดื่มนมมากๆก็อาจจะขัดตา แย้งว่าสมัยก่อนเค้าไม่มีนมให้กินเห็นลูกยังออกมาเป็นโขยง ..จริง เพราะสมัยก่อนไม่มีนมให้กินนี่ ตอนนี้มีให้กินเราก็กิน(สิ) เพื่อลูกและเพื่อตัวเราเอง เป็นการป้องกัน เรื่องโรคกระดูกพรุนที่อาจเกิดกับแม่ได้
อันนี้เอาเฉพาะความเชื่อของเรานะคะ ไม่ได้ลอกใครมา เชื่อว่าหากใครอยากรู้เรื่องสารอาหารจริงๆก็หาซื้อหนังสือหรือหาอ่านได้มากมายในอินเตอร์เน็ตค่า... และยังมีอื่นๆอีกตามแต่ปู่ย่าตายายจะแนะนำ ถ้าไม่ลำบากใจที่จะเชื่อและมีเหตุผลเพียงพอก็ทำไปเถอะค่ะ เพื่อความสงบสุขของบ้าน 55

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ดื่ม(นม)กันเถอะ

เป็นโชคดีของเราที่ชอบดื่มนม ประกอบกับขาดแคลเซียมเนื่องจากโรคประจำตัว ทำให้คุณหมอที่รักษาไธรอยด์บังคับให้ดื่มอย่างน้อยวันละ 2กล่องอยู่แล้ว พอท้องเรื่องดื่มนมเลยเป็นเรื่องจิ๋วๆลำหรับเรา แค่เปลี่ยนมาดื่มนมสำหรับคนท้องแค่นั้นเอง แต่ถ้าใครที่ดื่มไม่ได้ก็ลองหาอย่างอื่นที่มีแคลเซียมสูงกิน อย่างปลาเล็กๆ ผักใบเขียว พวกกะปิก็มีแคลเซียมนะจ๊ะ
แต่โดยปกติคนท้องจะห่วงลูกน้อยในท้องอยู่แล้ว บางคนก็ฝืนกิน(บีบจมูกเอา) สู้เพื่อลูกว่างั้น สิ่งทีอยากแนะนำคือเห็นบางคนพอท้องก็ไปซื้อนมกระป๋องเล็กๆ ราคาแพงๆ มากิน ..เราว่า อ่านฉลากเพื่อดูว่ามีสารอาหารอะไรบ้างก่อนจะดีไหม เพราะถ้าลองเปรียบเทียบดู นมกล่องสำหรับคุณแม่ก็มีปริมาณสารต่างๆที่ร่างกายคนท้องต้องการเยอะกว่าอยู่นะคะ ซื้ออะไรต้องเปรียบเทียบก่อน อันนี้เอามาฝากค่ะ ได้มาจากหนังสือแจกของดัชมิลล์ ชื่อ “นม อาหารเพื่อชีวิตและสุขภาพ” โดย รองศาตราจารย์ดร.ประไพศรี ศิริจักรวาล ใครอยากได้ฉบับเต็ม ลองโทร.ไปที่ 028812222ดูนะคะ(ไม่ทราบว่าจะยังมีแจกไหมนะ)


นี่เป็นตารางปริมาณแคลเซียมที่มีในอาหารทั่วไปที่เราทาน แม่ที่กินนมไม่ได้จะได้ไม่กังวล เพราะแคลเซียมในอาหารอื่นก็มี (ไม่งั้นเราคงโตมาไม่ได้ สมัยก่อนแม่เราได้กินนมกันเป็นคันรถอย่างรุ่นเราที่ไหนกันละเนอะ) แต่ก็อย่าละเลย เพราะแคลเซียมสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตไม่น้อย อย่างของเราดื่มเยอะมากแบบเผื่อเหลือเลยทีเดียว(แม่ขาดอยู่แล้ว แถมมาท้องอีก) แต่ลูกแข็งแรงมาก ตั้งไข่ตั้งแต่ 10 เดือน ปั้นจักรยานสามล้อได้ตั้งแต่สองขวบ (ตอนนี้ปั้นทางขรุขระที่ไร่ยังฉิวเลย แม่ลองไปปั่นด้วยยังแพ้เลยค่ะ)
..เป็นกำลังใจให้แม่ที่กินนมไม่ได้ เรามีทางเลือกจ้า...












วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เชื้อราในช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์..ฉันก็เป็น

ไม่ต้องอายค่ะ เรื่องธรรมดามากเลยที่คนท้องอย่างเราจะคัน...
ตอนเราไปปรึกษาหมอเรื่องนี้ หมอยิ้ม(เหมือนเคย) แล้วบอกว่ามันธรรมดาที่คนท้องซึ่งปัสสาวะบ่อย ตรงนั้นก็ย่อมจะชื้น เชื้อราก็ชอบ แถมจุลินทรีย์ที่ช่วยปกป้องตรงนั้นในช่วงตั้งครรภ์จะลดลงด้วย(ถ้าไม่ช่างถามหมอคงไม่อธิบายมาก ..ใครไปเจอหมอ ด้วยอาการอย่างไรก็ตามถ้าอยากรู้ต้องถามค่ะ ..เซ้าซี้เข้าไป เดี๋ยวหมอจะlectureให้เราฟังเอง เป็นสิทธิ์ของเราด้วยนะจ๊ะที่จะรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคที่เราเป็นอยู่ ..วงเล็บยาวจัง)
เอาล่ะ มาดูข้อมูลเน้นๆกันดีกว่าจ้า

โรคเชื้อราในช่องคลอด ( Thrush) คือ การติดเชื้อราในบริเวณช่องคลอด ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อยีสต์ชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า "แคนดิดา อัลบิแคนส์" (Candida albicans) คนส่วนใหญ่จะมีเชื้อราอาศัยอยู่ในร่างกาย ซึ่งโดยปกติแล้ว เชื้อราจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาแต่อย่างใด แต่ในระหว่างที่ตั้งครรภ์นั้น สภาพภายในร่างกายของเราจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ประกอบกับความสมดุลของกรด-ด่างที่เปลี่ยนไปจากเดิมซึ่งจะส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อยีสต์ดังกล่าว ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคเชื้อราในช่องคลอดได้


โรคเชื้อราในช่องคลอดมีอาการอย่างไรบ้าง

• อาการของแต่ละคนจะแตกต่างกันเล็กน้อย แต่หากคุณสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ตั้งแต่หนึ่งอย่างขึ้นไป แสดงว่าคุณอาจเป็นโรคเชื้อราในช่องคลอด
• อาการคันหรือแสบร้อนภายในหรือรอบๆ ช่องคลอด
• อาการเจ็บโดยทั่วไปและ/หรือบวมแดง
• อาการเจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์หรือขณะปัสสาวะ

ตกขาวที่มีลักษณะขาวขุ่นและข้นกว่าปกติ การมีตกขาวที่มีลักษณะใส มีสีขาวคล้ายน้ำนมออกมามากขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากคุณสังเกตเห็นว่าตกขาวมีลักษณะข้นขึ้น คล้ายกับคอตเทจ ชีส ( cottage cheese) นั่นอาจจะเป็นอาการอย่างหนึ่งของโรคเชื้อราในช่องคลอด

หากคุณคิดว่าอาจเป็นโรคเชื้อราในช่องคลอด ควรแจ้งให้พยาบาลผดุงครรภ์หรือสูติแพทย์ของคุณทราบโดยเร็วที่สุดเพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

วิธีการรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอดอย่างปลอดภัย
• การซื้อยาจากร้านขายยามาใช้เองระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ควรปรึกษาสูติแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณก่อนซื้อยาใดๆ
• ใช้ผ้าห่อน้ำแข็งหรือแผ่นประคบที่มีสารสกัดจากวิทช์ เฮเซล ( witch-hazel compress) เพื่อบรรเทาอาการในบริเวณดังกล่าว
• หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นหรือแช่น้ำอุ่น เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคเชื้อราในช่องคลอดจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่อบอุ่น
• ควรใช้เจลอาบน้ำหรือสบู่ที่ปราศจากส่วนผสมของน้ำหอม
• สวมกางเกงชั้นในที่ทำจากผ้าฝ้ายที่ไม่รัดแน่นจนเกินไปเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
• รับประทานโยเกิร์ตชนิดธรรมดาซึ่งมีจุลินทรีย์ก็สามารถช่วยได้เช่นกัน โรคเชื้อราในช่องคลอดกับลูกน้อยของคุณ
ถึงแม้ว่าโรคเชื้อราในช่องคลอดอาจสร้างความรำคาญอย่างมาก แต่ก็ไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ แต่ก็มีโอกาสที่จะติดต่อไปยังลูกได้ในระหว่างคลอดและทำให้คุณรู้สึกเจ็บระหว่างให้นมลูกได้ ถ้าจะให้ดี คุณควรรักษาให้หายก่อนที่จะคลอด

ถึงแม้ว่าโรคเชื้อราในช่องคลอดอาจสร้างความรำคาญอย่างมาก แต่ก็ไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ แต่ก็มีโอกาสที่จะติดต่อไปยังลูกได้ในระหว่างคลอด และทำให้คุณรู้สึกเจ็บระหว่างให้นมลูกได้ ถ้าจะให้ดี คุณควรรักษาให้หายก่อนที่จะคลอด
ขอบคุณ เวปdumexจ้า

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อีกโรคที่เฉียวๆมาตอนท้อง..ธาลัสซีเมีย

เป็นธรรมดาเมื่อฝากครรภ์ต้องมีการตรวจเลือด ของเรารอบแรกสงสัยว่าเป็นธาลัสซีเมีย เลยได้เจ็บตัวอีกรอบเพื่อตรวจละเอียด ก็พบว่าเป็นเลือดจางเฉยๆ คนขาวใช่ว่าจะดีนะคะ มาศึกษาโรคนี้เป็นความรู้กันดีกว่า
ธาลัสซีเมีย เป็นโรคโลหิตจางทางพันธุกรรมชนิดเรื้อรัง ที่มีอุบัติการสูงในประเทศ ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีความผิดปกติในการสร้างสารโกลบิน (ในเชิงปริมาณ) ที่มารวมกันเป็นฮีโมโกลบินเอ (Hemoglobin A) กล่าวคือมีการสร้างสารฮีโมโกลบินเอ (สารสีแดงในเม็ดเลือดแดง) ลดน้อยลงนั่นเอง ทำให้เม็ดเลือดแดงมีลักษณะผิดปกติและแตกง่าย ก่อให้เกิดอาการซีด เลือดจางเรื้อรัง และมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาครับ
โดยปกติ ยีน ที่ควบคุมกำหนดลักษณะต่างๆ ในร่างกายจะเป็นคู่ ข้างหนึ่งได้รับถ่ายทอดมาจากพ่อ อีกข้างหนึ่งได้รับมาจากแม่ ผู้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียนั้นจะได้รับการถ่ายทอดยีน ที่ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ มาจากทั้งพ่อและแม่ครับ ดังนั้นผู้ที่ได้รับถ่ายทอดยีนธาลัสซีเมียมาจึงมีได้สองแบบคือ
แบบที่ 1 เป็นพาหะ คือ ผู้ที่มียีน หรือกรรมพันธุ์ของโรคธาลัสซีเมียพวกหนึ่งเพียงข้างเดียว (อัลฟ่า-ธาลัสซีเมีย หรือ เบต้า-ธาลัสซีเมีย) เรียกว่ามียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ จะมีสุขภาพดีปกติ ต้องตรวจเลือดโดยวิธีพิเศษจึงจะบอกได้ เรียกว่าเป็นพาหะ เพราะสามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติไปให้ลูกก็ได้ ผู้ที่เป็นพาหะอาจถ่ายทอดยีนข้างที่ปกติหรือข้างที่ผิดปกติให้ลูกก็ได้
แบบที่ 2 เป็นโรค คือ ผู้ที่รับยีนผิดปกติ หรือกรรมพันธุ์ของโรคธาลัสซีเมียพวกเดียวกันทั้งสองข้าง (อัลฟ่า-ธาลัสซีเมีย หรือ เบต้า-ธาลัสซีเมีย) มาจากทั้งพ่อและแม่ ผู้ป่วยมียีนผิดปกติทั้งสองข้าง และถ่ายทอดความผิดปกติข้างใดข้างหนึ่งต่อไปให้ลูกแต่ละคนด้วย
ในส่วนความผิดปกติของยีนธาลัสซีเมียนี้ ต้องขอลงลึกถึงรายละเอียด เพื่อนำมาอธิบายถึงกรณีของคุณนิสาชลครับ ยีนธาลัสซีเมียแบ่งได้เป็นสองพวกใหญ่ๆ คือ พวกที่มีความผิดปกติของยีนบนสายอัลฟ่า เรียกว่า อัลฟ่า-ธาลัสซีเมีย และพวกที่มีความผิดปกติของยีนบนสายเบต้า เรียกว่า เบต้า-ธาลัสซีเมีย
พวกที่ 1 – แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย พบมากได้แก่
o พาหะของแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 พบประมาณร้อยละ 5
o พาหะของแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 2 พบประมาณร้อยละ 16
o พาหะของฮีโมโกลบินคอนสแตนท์สปริง พบประมาณร้อยละ 4
พวกที่ 2 – เบต้า-ธาลัสซีเมีย พบมากได้แก่
o พาหะของเบต้า-ธาลัสซีเมีย พบประมาณร้อยละ 5 (ชนิดที่คุณนิสาชลเป็นพาหะ)
o พาหะของฮีโมโกลบินอี พบประมาณร้อยละ 13 (ชนิดที่สามีของคุณนิสาชลเป็นพาหะ)
ดังที่ได้กล่าวก่อนหน้านี้แล้วว่า ผู้เป็นโรคธาลัสซีเมียต้องได้รับยีนผิดปกติจากทั้งบิดาและมารดา และจะต้องเป็นพวกเดียวกันด้วย หมายถึงความผิดปกติในแอลฟ่าธาลัสซีเมียด้วยกันหรือพวกเบต้าธาลัสซีเมียด้วยกัน จึงจะเป็นโรค ถ้าพ่อและแม่มียีนธาลัสซีเมียคนละพวก ลูกก็รับมาทั้งสองยีน ถึงแม้จะทำให้เป็นโรคแต่ก็ถ่ายทอดไปสู่หลานได้ครับ เนื่องจากยีนธาลัสซีเมียมีหลายชนิด การได้รับยีนผิดปกติต่างกันมาจับคู่กัน จึงทำให้มีธาลัสซีเมียเกิดขึ้นหลายชนิด มีชื่อเรียกต่างๆ กันและนอกจากนี้ความรุนแรง ยังแตกต่างกันมาก ตั้งแต่รุนแรงมากที่สุดถึงไม่มีอาการเลย ดังนี้คือ
พวกแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย
o แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 กับ แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 เรียกว่า ฮีโมโกลบินบาร์ทไฮดรอพส์ ฟิทัลสลิส รุนแรงที่สุด
o แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 กับ แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 2 เรียกว่า ฮีโมโกลบินเอ็ช รุนแรงน้อย
o แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 กับ ฮีโมโกลบินคอนสแตนท์สปริง เรียกว่า ฮีโมโกลบินเอ็ชคอนสแตนท์สปริง รุนแรงน้อย
o ฮีโมโกลบินคอนสแตนท์สปริง กับ ฮีโมโกลบินคอนสแตนท์สปริง เรียกว่า โฮโมซัยกัสคอนสแตนท์สปริง อาการน้อยมาก
o แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 2 กับ แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 2 เรียกว่า โฮโมซัยกัส ไม่มีอาการ
พวกเบต้า-ธาลัสซีเมีย
o เบต้า-ธาลัสซีเมีย กับ เบต้า-ธาลัสซีเมีย เรียกว่า โฮโมซัยกัส
o เบต้า-ธาลัสซีเมีย กับ เบต้า-ธาลัสซีเมียเมเจอร์ รุนแรงมาก
o เบต้า-ธาลัสซีเมีย กับ ฮีโมโกลบินอี เรียกว่า เบต้า-ธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบิน (กรณีของลูกคุณนิสาชล) อาการรุนแรงปานกลาง
o ฮีโมโกลบินอี กับ ฮีโมโกลบินอี เรียกว่า โฮโมซัยกัส ฮีโมโกลบินอี อาการน้อยมาก

โรคธาลัสซีเมีย รักษาได้อย่างไร
เนื่องจากโรคธาลัสซีเมียมในประเทศไทยมีหลายชนิด และก่อให้เกิดอาการแตกต่างกันได้มาก ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการน้อยมาก จนไม่ต้องให้การรักษาอย่างใดเป็นพิเศษ แต่บางรายซีดมาก ต้องได้รับการรักษาและติดต่อกับแพทย์เป็นประจำโดยสม่ำเสมอ ฉะนั้นก่อนอื่นผู้ปกครอง ผู้ป่วย และครอบครัว จะต้องเข้าใจเสียก่อนว่า โรคธาลัสซีเมีย คืออะไร มีแบบแผนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมอย่างไร ผู้ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดใด ผู้ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดทางสายเลือด เช่น บิดา มารดา บุตร พี่น้อง และรวมทั้งคู่สมรสควรได้รับการตรวจเลือด เพื่อให้ทราบและเข้าใจเกี่ยวกับแบบแผนการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนการรักษาผู้ป่วย
ที่มา... นิตยสารบันทึกคุณแม่ ปีที่ 11 กันยายน 2547(เวปbabyfancy)